ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)
ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

Catherine Samba-Panza (2014–16)ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐแอฟริกากลางกับกบฏซึ่งหลายคนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองสาธารณรัฐแอฟริกากลาง กลุ่มกบฏกล่าวหารัฐบาลประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซว่าไม่สามารถปฏิบัติตามความตกลงสันติภาพที่ลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550กองกำลังกบฏซึ่งมีชื่อว่า "เซเลกา" (Séléka CPSK-CPJP-UFDR) ยึดเมืองหลักหลายเมืองในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศ พันธมิตรดังกล่าวประกอบด้วยสองกลุ่มหลัก คือ UFDR และ CPJP ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับ CPSK[16] ซึ่งรู้จักกันน้อยกว่า อีกสองกลุ่มประกาศการสนับสนุนแนวร่วมนี้เช่นเดียวกัน ได้แก่ FDPC[17] และ FPR (ในประเทศชาด)[18] ทั้งสองตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศ ทุกกลุ่มแยกยกเว้น FPR และ CPSK เป็นฝ่ายในสัญญาความตกลงสันติภาพและกระบวนการปลดอาวุธประเทศชาด[19] กาบอง แคเมอรูน[20] แองโกลา[21] แอฟริกาใต้[22] และสาธารณรัฐคองโก[23] ส่งทหารช่วยเหลือรัฐบาลบอซีเซยับยั้งการรุกคืบของฝ่ายกบฏสู่กรุงบังกี เมืองหลวงของประเทศวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 มีการลงนามความตกลงหยุดยิงในกรุงลีเบรอวีล ประเทศกาบอง ฝ่ายกบฏสละข้อเรียกร้องของพวกตนที่จะให้ประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซลาออก แต่เขาต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคฝ่ายค้านภายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556[24] วันที่ 13 มกราคม บอซีเซลงนามกฤษฎีกาซึ่งถอดถอนนายกรัฐมนตรีโฟสแต็ง-อาร์ช็องฌ์ ตัวเดราจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงกับแนวร่วมกบฏ[25] วันที่ 17 มกราคม นีกอลา ตีย็องกาย (Nicolas Tiangaye) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[26]วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 การหยุดยิงถูกละเมิด โดยรัฐบาลประณามเซเลกาว่าละเมิดการหยุดยิง[27] และเซเลกาประณามรัฐบาลโดยกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลงแบ่งสรรอำนาจ[28] จนถึงวันที่ 21 มีนาคม กบฏรุกคืบถึงเมืองบูกาซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 300 กิโลเมตร[28] วันที่ 22 มีนาคม การสู้รบมาถึงเมืองดามารา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 75 กิโลเมตร[29] กบฏยึดด่านตรวจที่ดามาราและรุกคืบสู่กรุงบังกี แต่ถูกหยุดด้วยการโจมตีทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์จู่โจม[30] อย่างไรก็ดี วันรุ่งขึ้น ฝ่ายกบฏเข้าสู่กรุงบังกี มุ่งหน้าสู่ทำเนียบประธานาธิบดี[31] วันที่ 24 มีนาคม ฟร็องซัว บอซีเซหลบหนีออกนอกประเทศหลังกบฏยึดทำเนียบได้[32] ผู้นำกบฏ มีแชล จอตอดียา ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีในวันเดียวกัน[33]

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
(7 years, 8 months and 5 days)
สถานที่ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
ผลลัพธ์ยังคงมีความรุนแรงระหว่างฝ่ายอยู่
สถานที่  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
ผลลัพธ์ ยังคงมีความรุนแรงระหว่างฝ่ายอยู่
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
(7 years, 8 months and 5 days)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน) http://www.aljazeera.com/news/africa/2013/01/20131... http://www.aljazeera.com/news/africa/2013/03/20133... http://www.aljazeera.com/news/africa/2013/11/evide... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_world/v... http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM... http://www.journaldebangui.com/article.php?aid=375... http://www.nytimes.com/2013/01/01/world/africa/res... http://www.nytimes.com/2013/01/03/world/africa/cen... http://www.nytimes.com/2013/01/12/world/africa/reb... http://www.nytimes.com/2013/03/24/world/africa/reb...